การเล่นโป๊กเกอร์ทัวร์นาเมนต์นั้นมีความแตกต่างจากการเล่นแบบแคชเกมอย่างมาก เพราะมีเป้าหมายในการเล่นที่แตกต่างกันพอสมควร ในขณะที่เป้าหมายของแคชเกมคือการพยายามเรียก value ด้วยการกินชิพจากคู่แข่งให้ได้มากที่สุด แต่สำหรับทัวร์นาเมนต์นั้นต่างออกไป เพราะการพยายามสะสมชิพให้ได้มากที่สุด อาจเป็นการเล่นที่เสี่ยงและไม่คุ้มค่าที่สุดเสมอไป 

ความแตกต่างนี้อาจทำให้ผู้เล่นทัวร์นาเมนต์มือใหม่หลายคนที่คุ้นเคยกับแคชเกมมากกว่าพลาดกับการทำกำไรจากทัวร์นาเมนต์ จนอาจทำให้ตกรอบเร็ว หรือไม่สามารถพาตัวเองเข้ารอบจนติดอันดับทำเงิน (หรือ In The Money : ITM) ได้ลึกเท่าที่ควร ซึ่งหลักการสำคัญที่ส่งผลต่อการเล่นเพื่อเป้าหมายติดอันดับลึกๆในทัวร์นาเมนต์อย่างหนึ่งนั้น ย่อมหนีไม่พ้นหลักการเรื่อง ICM อย่างแน่นอน

ICM คืออะไร?

ICM หรือ Independent Chip Model นั้น เป็นหลักการที่ใช้คำนวณเพื่อประเมิน “มูลค่าชิพ” ที่มีอยู่ว่า ณ ตอนนั้น ชิพของเรามีค่าประมาณเท่าไหร่ เพื่อใช้ในการตัดสินใจเล่นว่า คุ้มหรือไม่ ที่จะเสี่ยงเอาชิพที่มีอยู่ไปเล่น hand นี้ในตานี้ เพื่อแลกกับมูลค่าของชิพที่มากขึ้น

ที่เราใช้คำว่า “มูลค่าชิพ” แทนคำว่า “จำนวนชิพ” นั่นก็เพราะในทัวร์นาเมนต์ จำนวนชิพที่มีอยู่ มีค่าไม่เท่ากับจำนวนเงินที่จะได้ ทำให้จำนวนชิพที่มี ไม่ใช่มูลค่าของมันจริงๆ หรือในเชิงโป๊กเกอร์ เราอาจจะเรียกการเปรียบเทียบแบบนี้ในรูปแบบของ EV (Expected Value : ผลตอบแทนคาดหวังระยะยาวโดยเฉลี่ย) ว่า ในทัวร์นาเมนต์นั้น “chipEV ไม่เท่ากับ $EV” นั่นเอง (การเล่นบางอย่าง อาจจะทำให้เป็น +chipEV คือได้ชิพเพิ่ม แต่อาจจะเป็น -$EV คือขาดทุน ก็เป็นได้)

เช่น ในทัวร์นาเมนต์ที่มีเงินค่าสมัครอยู่ buy-in ละ $10 เมื่อสมัครเข้าไปเล่น เราจะได้ชิพเริ่มต้นมา 10,000 ชิพ ซึ่งไม่ได้มีค่าเท่ากับ $10,000 แต่มีค่าแค่ $10 ในตอนก่อนทัวร์นาเมนต์จะเริ่ม แต่เมื่อทัวร์นาเมนต์เริ่มต้น จำนวนชิพที่เรามีอยู่ จะไม่ได้มีมูลค่าเท่ากับ $10 อีกต่อไป เพราะถ้าหากเราเหลือชิพน้อยมาก โอกาสตกรอบสูง เราอาจจะไม่ได้เงินซักบาท มูลค่าชิพเราอาจจะเหลือ 0 ก็ได้ ขณะที่ถ้าเรามีชิพเยอะขึ้น มูลค่าชิพก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่เท่ากับจำนวนชิพที่เพิ่มขึ้น นั่นก็เพราะมีการกำหนดโครงสร้างของเงินรางวัลที่จะจ่าย (Payout Structure) ให้กับแต่ละตำแหน่ง (ที่อยู่ในตำแหน่งที่ได้เงินรางวัล หรือ In The Money : ITM) ที่แตกต่างกันลดหลั่นกันไป มูลค่าชิพที่แท้จริงจึงต้องนำไปเทียบเคียงกับ payout structure ด้วย 

ความสำคัญของ ICM

เมื่อเรารู้แล้วว่า ในทัวร์นาเมนต์นั้น จำนวนชิพที่มี ไม่เท่ากับมูลค่าของชิพที่เราจะได้ ดังนั้นมันจึงมีผลต่อการตัดสินใจเล่นของเราอย่างมหาศาล โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่จำนวนเงินรางวัลที่จะได้มีความแตกต่างกันสูงมากๆ 

ตัวอย่างเช่น เรากำลังเล่นในทัวร์นาเมนต์ที่เหลือผู้เล่นเพียง 10 คน ซึ่งกำลังใกล้จะเข้าสู่ final table อีกแค่คนเดียว (ต้องเหลือผู้เล่น 9 คน) เรามี stack อยู่ 15bb อยู่อันดับที่ 9 ส่วนอันดับที่ 10 มีชิพอยู่ 5bb โดยมีเงินรางวัลอันดับที่ 8 อยู่ที่ $13,000 อันดับ 9 $10,000 และอันดับ 10 $5,000  

ปรากฏว่า เราเจอคนที่อยู่อันดับเหนือกว่าเรา shove all-in ใส่ โดยเราถือ AQs อยู่ คำถามคือ เราควรจะ call หรือไม่?

ถ้าเป็นในสถานการณ์ปกติ (เช่น ตอนที่ยังไม่อยู่ในช่วง ITM) AQs นั้นสามารถ call all-in ที่ 15bb ได้อย่างสบายๆ เพราะเรื่องจำนวนเงินรางวัลยังไม่มีผลอยู่แล้ว แต่ในสถานการณ์แบบนี้ที่จำนวนเงินรางวัลมีผลมาก การตัดสินใจจะยากขึ้น เพราะมันมีผลต่อจำนวนเงินรางวัลที่เราจะได้อย่างมาก

ถ้าเรา call แล้วชนะ สมมมติว่าจะได้ขึ้นไปอยู่อันดับ 8 เงินรางวัลเราจะเพิ่ม +$3,000 แต่ถ้าเรา call แล้วแพ้ เราจะตกรอบทันทีที่อันดับ 10 และเงินรางวัลเราจะลดลง -$5,000 แต่ถ้าเรา fold ไป เราจะอยู่อันดับ 10 เหมือนเดิม และรักษาเงินรางวัลตามอันดับไว้ได้ $10,000 

จะเห็นได้ว่า เรากำลังจะเสี่ยงเอาชิพทั้งหมด 15bb ไปแลกกับโอกาสได้ชิพเพิ่มขึ้นเท่าตัว (ชนะได้ 30bb) แต่จำนวนเงินรางวัลเราไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่เพิ่มเพียง +30% (+$3,000) แต่ถ้าเราแพ้ เงินรางวัลเราจะลดลงถึง -50% (-$5,000) ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่า เป็นการได้ไม่คุ้มเสีย โดยเฉพาะเมื่อมีผู้เล่นที่ชิพน้อยกว่าเราและอยู่ในอันดับต่ำกว่า ที่พร้อมจะตกรอบก่อนเรา ก็ยิ่งไม่มีเหตุผลที่เราจะรีบเอาชิพทั้งหมดเข้าไปเสี่ยง แลกกับผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า แม้ AQs จะเป็น hand ใหญ่ที่มี equity พอสมควรก็ตาม

หลักการของ ICM จึงช่วยเราในสถานการณ์ที่ล่อแหลมแบบนี้ ว่าเมื่อไหร่เราควรเล่น หรือไม่ควรเล่น และถ้าเล่น range ที่สามารถเล่นได้ควรจะมีลักษณะหน้าตาอย่างไร ถึงจะคุ้มค่ากับความเสี่ยงที่เราต้องเผชิญ

วิธีการคำนวณ ICM

ICM คือการคำนวณเพื่อหา $EV ของชิพที่มีอยู่ โดยใช้จำนวน stack size (ขนาดของ stack หรือจำนวนชิพที่มีอยู่) ที่มีอยู่ของแต่ละคน ในการประเมินหาความน่าจะเป็นที่จะจบอันดับที่ 1, 2, 3 ลงไปเรื่อยๆ ว่ามีโอกาสกี่ % และนำผลลัพธที่ได้ไปคูณกับเงินรางวัลในแต่ละอันดับ แล้วนำมาเฉลี่ยรวมกัน ก็จะทราบได้ว่า ในระยะยาวแล้ว ด้วย stack size เท่านี้ จะมีโอกาสได้เงินรางวัลเฉลี่ยเท่าไหร่

ดังนั้น ตัวแปรที่เราจะใช้คำนวณหา ICM จะมีอยู่ 2 ตัวแปรด้วยกัน คือ :

  1. Stack size ของผู้เล่นแต่ละคนที่เหลืออยู่
  2. เงินรางวัล ของแต่ละตำแหน่งที่เหลืออยู่

ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว การคำนวณหาความน่าจะเป็นในการจบแต่ละอันดับนั้น เป็นเรื่องที่ซับซ้อน และใช้เวลานานมาก ยิ่งเหลือจำนวนผู้เล่นในทัวร์นาเมนต์เยอะเท่าไหร่ ก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น จนเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ในการคำนวณจริงในขณะกำลังเล่นอยู่บนโต๊ะ ทางเดียวที่เราจะคำนวณได้คือต้องใช้เครื่องช่วยคำนวณ ICM หรือ ICM Calculator (สามารถเซิร์ชหาได้ในโลกออนไลน์ หรือใช้โปรแกรมอย่าง ICMIZER หรือ Holdem Resources เป็นต้น) ถึงจะหาค่า $EV ได้ 

ดังนั้น ในทางปฏิบัติแล้ว เราไม่ได้เรียนรู้เรื่อง ICM เพื่อไปใช้คำนวณจริงบนโต๊ะ แต่จะเป็นการนำสิ่งที่เราเจอบนโต๊ะ กลับมาศึกษานอกโต๊ะในภายหลัง โดยใช้เครื่องคำนวณเข้าช่วย และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ กลับไปใช้ปรับใช้ในการประเมินสถานการณ์จริงบนโต๊ะในครั้งต่อไปมากกว่า (ซึ่งการศึกษาโป๊กเกอร์ในระดับสูง ที่มีความซับซ้อน จะเป็นไปในแนวทางนี้เกือบทั้งหมด) 

ตัวอย่างการคำนวณ ICM

ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าเรากำลังเล่นทัวร์นาเมนต์แบบ sit-and-go (ทัวร์นาเมนต์โต๊ะเดียวจบ) อยู่: 

และสมมติว่าสถานการณ์ปัจจุบัน เหลือผู้เล่นเพียงแค่ 4 คน แต่ละคน มีชิพดังนี้ :

รวม 10,000 ชิพ

จากการใช้เครื่องคำนวณในเว็บ www.icmpoker.com ช่วยคำนวณ จะได้ $EV ของผู้เล่นแต่ละอันดับ ดังนี้ 

จะเห็นได้ว่า แม้อันดับ 1 จะมีอยู่ 5,000 ชิพ และกำลังอยู่อันดับ 1 อยู่ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเขาจะมีโอกาสได้เงินรางวัล $50 ตามเงินรางวัลที่จะได้ในอันดับ 1 เสมอไป เพราะก็มีโอกาสที่เขาจะจบอันดับอื่นๆได้เหมือนกัน ตราบใดที่ทัวร์นาเมนต์ยังไม่จบ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว ในระยะยาว ด้วยจำนวนชิพเท่านี้ (50% ของจำนวนชิพทั้งหมด) เขามีโอกาสจะได้เงินรางวัลเฉลี่ย $37.18 ในขณะที่อันดับ 2 และ 3 มีโอกาสได้เงินรางวัลเฉลี่ย $24.33 เท่ากัน (เพราะมีจำนวนชิพเท่ากัน) และแม้แต่อันดับที่ 4 ก็ยังมีโอกาสได้เงินรางวัลเฉลี่ย $14.17 แม้ในความเป็นจริง ตอนนี้จะอยู่ในอันดับที่ไม่มีเงินรางวัลก็ตาม เพราะด้วยจำนวนชิพที่มี เขาก็อาจจะยังมีโอกาสจบอันดับสูงกว่านี้ได้

การนำ ICM ไปใช้

สิ่งสำคัญที่สุดในการศึกษา ICM ก็คือ เราจะใช้มันในการตัดสินใจการตัดสินใจเล่น hand หนึ่งๆ เมื่อเรากำลังตัดสินใจว่าจะ shove all-in หรือ call shove all-in ดีหรือไม่

ซึ่งการรู้แต่ $EV ที่คำนวณได้อย่างเดียว ไม่สามารถช่วยในการตัดสินใจการเล่นของเราได้ เราจำเป็นต้องมีข้อมูลอีกอย่างคือ “โอกาสชนะ” หรือ Equity ของ hand หรือ range ของเรา เทียบกับ hand หรือ range ของคู่แข่งด้วย เพื่อให้เราคำนวณได้ว่า คุ้มหรือไม่ ที่จะเล่น hand นี้

กลับไปที่ตัวอย่าง เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ จะขอสมมติให้ไม่มี blind และ ante ในการเล่น และกำหนดให้เราเป็นผู้เล่นอันดับ 3 โดยอยู่ในสถานการณ์ต่อไปนี้ :

ถ้าเกิดอันดับ 4 และอันดับ 1 fold แล้วอันดับ 2 all-in มา 2,000 ชิพ เราถือ AKo อยู่ เราควรจะ call หรือไม่?

จากสถานการณ์นี้ จะมีทางเลือกและผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อยู่ 3 อย่าง นั่นคือ :

  1. เรา fold (ขนาด stack เหลือเท่าเดิม)
  2. เรา call แล้วชนะ (จะมี stack เพิ่มเป็น 4,000 ชิพและอันดับ 2 ตกรอบ)
  3. เรา call แล้วแพ้ (เราจะตกรอบ และอันดับ 2 จะมี 4,000 ชิพแทน)

เราสามารถคำนวณหา $EV โดยใช้ ICM ในแต่สถานการณ์ได้ดังนี้ :

สถานการณ์ถ้า foldถ้า call แล้วชนะถ้า call แล้วแพ้
ผู้เล่นstack $EVstack $EVstack $EV
อันดับ 15,000$37.185,000$38.895,000$38.89
อันดับ 22,000$24.330$04,000$36.44
อันดับ 32,000$24.334,000$36.440$0
อันดับ 41,000$14.171,000$24.671,000$24.67

สมมติว่า เราใช้เครื่องช่วยคำนวณหา equity ของ AKo ของเราเมื่อเจอกับ range ของคู่แข่งออกมาได้ประมาณ 60% (โอกาสชนะ 60% โอกาสแพ้ 40%) ดังนั้น เราสามารถคำนวณหา EV ของการ call ได้ ดังนี้ :

แปลว่า เรามีโอกาสได้เงินรางวัลเฉลี่ย $21.86 ในระยะยาว ถ้าเรา call all-in แต่เมื่อเทียบกับการ fold เราจะได้เงินรางวัลเฉลี่ย $24.33 แสดงว่า ในกรณีนี้ การ fold ให้ EV มากกว่าการ call แสดงว่า ต่อให้เราถือ AKo ซึ่งมีโอกาสชนะหรือมี equity อยู่ 60% ก็ไม่คุ้มที่จะ call เพราะได้กำไรน้อยกว่าแค่ fold ไปง่ายๆซะอีก

นอกจากนี้ ถ้าเราพิจารณาถึงสถานการณ์ในโต๊ะให้ดี จะเห็นว่า เราอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ได้กดดันขนาดนั้น เพราะเรามีชิพอยู่เทียบเท่ากับอันดับ 2 และอยู่ในอันดับที่ติดเงินรางวัลอยู่แล้ว โดยที่มีอันดับ 4 ที่มีชิพน้อยกว่าเราครึ่งหนึ่ง ที่มีโอกาสตกรอบและน่าจะกดดันมากกว่าเรา ทำให้เรามีโอกาสที่จะ fold แล้วรอให้อันดับ 4 วัดดวงกับใครซักคนแล้วตกรอบไปก่อน เราก็จะได้การันตีเงินรางวัลอันดับ 3 ได้แบบที่ไม่ต้องเสี่ยงอะไรเลย ก็ยิ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเสี่ยง call ไป มากขึ้นไปอีก

แต่ถ้าลองคิดในอีกมุมว่า แล้ว hand หรือ range ที่เราคุ้มที่จะ call (call แล้วได้ EV มากกว่า fold) จะต้องมี equity ประมาณเท่าไหร่? เราสามารถหาได้จากการนำ foldEV มาหารด้วย callEV (แล้วชนะ) ก็จะได้ว่าต้องมี equity เท่ากับ

ซึ่ง hand ที่อาจจะมี equity มากกว่า 66.8% ขึ้นไป อาจจะมีเพียงคู่ QQ-AA ที่สามารถ call ได้เท่านั้นเอง 

การคำนวณตามตัวอย่างดังกล่าว เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การใช้หลักการของ ICM ในการตัดสินใจในเชิงคณิตศาสตร์จริงๆนั้นมีกระบวนการอย่างไร ซึ่งในทางปฏิบัติเวลาเล่นจริง เราก็คงไม่สามารถคำนวณอย่างละเอียดทีละขั้นแบบนี้ได้ เราจึงทำได้เพียงใช้หลักการนี้ มาวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์บนโต๊ะ, สถานการณ์ของอันดับเงินรางวัลในปัจจุบัน, ทักษะความรู้ของเราเทียบกับคู่แข่ง ว่าเราสมควรเล่นดีหรือไม่ เมื่อพิจารณาจากหลายๆปัจจัยรวมกัน โดยใช้หลักการของ ICM เป็นฐานในการตัดสินใจ ซึ่งแม้อาจจะไม่ละเอียดแม่นยำ เท่ากับเวลาเรามีเวลาใช้เครื่องคำนวณ แต่อย่างน้อย หลักการของ ICM ก็ช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล และมีโอกาสจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องมากขึ้น

คำแนะนำในการนำหลักการของ ICM ไปใช้

จากหลักการของ ICM ที่เราได้เรียนรู้กันไป จึงขอสรุปมาเป็นคำแนะนำในการนำ ICM ไปใช้จริง ดังนี้ :

  1. เมื่อเราเป็น short stack ICM จะมีผลกับเราน้อยที่สุด และจะมีความเสียหายจากความเสี่ยงน้อยที่สุด เพราะ short stack มีชิพน้อยที่สุด จึงจำเป็นต้องเสี่ยงเพื่อให้อยู่รอด อยู่แล้ว ไม่งั้นก็ตกรอบอยู่ดี short stack จึงไม่มีความกดดันต่อความเสี่ยงจาก ICM มากเท่าไหร่ ดังนั้นจึงสามารถเล่นตาม range ที่เหมาะกับ stack size ได้ตามปกติ     
  1. เมื่อเราเป็น big stack (มีชิพจำนวนมาก หรือมากที่สุดบนโต๊ะ) ICM จะมีผลกับเราปานกลาง และมีความเสียหายจากความเสี่ยงปานกลาง เพราะ big stack ต่อให้เสียชิพไปก็ไม่ได้เสียหายมาก เนื่องจากยังเหลือชิพมากพอที่จะเล่นต่อหรือสะสมชิพกลับมาใหม่ได้ ดังนั้น จึงมีโอกาสใช้ชิพที่มีในการกดดันคู่แข่งได้ที่ชิพน้อยกว่าได้บ่อยขึ้น ด้วยการ bet  หรือ shove ใส่คนที่มีชิพปานกลางในตำแหน่งท้ายๆเพื่อขโมย blind และ anteได้ รวมถึง bluff ตอน preflop ได้ (ถ้ามีการเล่น preflop) ด้วย range ที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีความกดดันจาก ICM สูงๆ 
  1. เมื่อเราเป็น medium stack (มีชิพอยู่ตำแหน่งปานกลางในโต๊ะ) ICM จะมีผลกับเรามากที่สุด และมีความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด เพราะ medium stack ถ้าเสียชิพไปอาจจะตกรอบหรือแทบจะตกรอบเลย ทำให้กระทบกับเงินรางวัลที่จะได้อย่างมาก ดังนั้น จึงควรเล่นอย่างระมัดระวังที่สุด range ที่เล่นได้จะต้องแคบกว่าปกติพอสมควร ไม่ว่าจะ open raise, shove หรือ call shove ทั้งหมด
  1. ICM จะมีผลมากเวลา pay jump (เงินรางวัลอีกอันดับหรืออีกช่วงเพิ่มขึ้นอย่างมาก) เช่น ช่วง money bubble (ใกล้จะมีคนตกรอบจนถึง ITM), ช่วง final table bubble (ใกล้จะมีคนตกรอบจนถึง final table) หรือช่วงที่เล่น final table เอง ทำให้เราต้องประเมิน stack size ของตัวเองเทียบกับคนอื่นๆในโต๊ะ ว่าในขณะนี้ stack ของเราอยู่กลุ่มไหน และควรเล่นอย่างไร (เราอยากให้คน medium stack อยู่ทางซ้ายมือเราเยอะๆ และคน short หรือ large stack อยู่ขวามือเราเยอะๆ) range ที่เล่นกันในช่วงนี้โดยเฉลี่ย จะต้องแคบกว่าปกติ โดยเฉพาะคนที่เป็น medium stack และคนที่อยู่ในตำแหน่งวิกฤติ (ตำแหน่งที่ใกล้กับ pay jump มากๆ) 
  1. ถ้าเราอยู่ในตำแหน่งวิกฤติในช่วง pay jump หรือ money bubble เราอาจจะต้องใช้เทคนิคการถ่วงเวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยพยายามดึงเวลาไว้ หรืออาจจะต้องใช้ time bank ช่วยยืดเวลาออกไปเมื่อเราได้ hand บาง hand ที่ strong ระดับหนึ่ง แต่ไม่ strong พอที่จะเล่นในช่วงที่ ICM กดดันหนักๆ (เช่น คู่ 77-JJ, ATs-AKs, KJs-KQs) เพื่อให้คนที่อยู่อันดับหลังเราตกรอบไปก่อน และทันทีที่เกิด pay jump เราค่อยเล่น hand นั้น หากเราเป็นฝ่ายต้อง raise ก่อน อาจจะใช้วิธีดึงเวลาจนถึงที่สุด แล้ว raise ไปแต่ให้เหลือชิพไว้แค่ 0.1bb เพื่อให้มีเวลาเหลือกลับมา call อีกรอบ ถ้าอีกฝ่าย all-in ใส่ ก็จะยิ่งเพิ่มเวลาการเล่นให้ได้มากขึ้น (ควรใช้เฉพาะเมื่อมีคนอยู่อันดับหลังเราไม่เกิน 2 คนเท่านั้น)    

ข้อจำกัดของ ICM 

แม้ ICM จะเป็นหลักการที่เราเอามาใช้ในการตัดสินใจเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่สำคัญในทัวร์นาเมนต์ ที่ดีที่สุดที่เราสามารถหาได้ในปัจจุบัน แต่มันก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่เราต้องตระหนักเอาไว้ เพื่อไม่ให้ใช้มันอย่างมืดบอด ที่อาจจะเป็นการลดทอนประสิทธิภาพการเล่นที่แท้จริงของเราลงได้

  1. ICM ไม่ได้เอาเรื่องฝีมือการเล่นมาคิด

ICM เป็นการคำนวณในทางคณิตศาสตร์เพียวๆ โดยใช้ตัวแปรแค่ 2 ค่าในการคำนวณ (ชิพ และเงินรางวัล ในแต่ละตำแหน่ง) โดยละเลยตัวแปรอื่นๆที่อาจจะมีผล เช่น ฝีมือการเล่น ซึ่งในทางปฏิบัติมีโอกาสที่จะมีผลต่อการตัดสินใจเช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากเป็น big stack แล้วใช้ชิพกดดกัน medium stack ในช่วงที่ ICM มีผลมาก ซึ่งตามหลักการของ ICM คนที่เป็น medium stack ควรจะ fold เพราะมีต้นทุนด้านความเสี่ยงสูงที่สุด แต่หากผู้เล่นที่เป็น medium stack ไม่มีทักษะหรือความรู้เรื่อง ICM ที่ดีพอ เขาอาจจะตัดสินใจ call shove ด้วย hand อย่าง AJs ด้วย stack ประมาณ 20bb มาวัดดวงได้ ทำให้เรากลับต้องเผชิญความเสี่ยงที่มากขึ้น แม้จะเล่นตามหลักการของ ICM ก็ตาม ดังนั้น ฝีมือการเล่นของผู้เล่นแต่ละคนในโต๊ะ ก็เป็นปัจจัยที่อาจจะส่งผลทั้งด้านบวก หรือด้านลบ กับแนวทางการเล่นตามหลักการ ICM ของเราได้ เราจึงต้องพิจารณาถึงเรื่องนี้ในทางปฏิบัติด้วยความระมัดระวังเช่นกัน

  1. ICM ไม่ได้สนใจเรื่อง table dynamic

เช่นเดียวกัน ICM ไม่ได้คิดถึงเรื่อง table dynamic หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละโต๊ะ ว่ามีความเป็นไปอย่างไร ใครมี stack มากน้อยเท่าไหร่ อยู่ตำแหน่งไหน นิสัยการเล่นเป็นอย่างไร  ซึ่งเรื่องพวกนี้ ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจของเราด้วย

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยู่บนโต๊ะที่เหลือผู้เล่นเพียง 3 คนโดยเราเป็น short stack ขณะที่อีก 2 คนเป็น big stack ถ้าเราอิงตามหลักการของ ICM อย่างเดียว เราอาจจะเล่นด้วย range ตามปกติ แต่หาก big stack 2 คนนี้ เป็นผู้เล่นที่ค่อนข้าง aggressive ที่อาจจะมีจังหวะได้ hand ที่ดีด้วยกันทั้งคู่ พวกเขาอาจจะห้ำหั่นกันเอง จนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเขี่ยอีกฝ่ายตกรอบ ทำให้อยู่ดีๆเราได้อันดับ 2 ก็ได้ ซึ่งในกรณีนี้ หากเราเล่นให้ tight ขึ้นกว่า ICM สักหน่อย ก็มีโอกาสที่เราจะได้เงินรางวัลเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องลงมือทำอะไรเลยก็ได้

ตรงกันข้าม หาก big stack ทั้ง 2 คนเป็นคนที่ tight กว่าปกติ ไม่ยอมเล่น hand มากนักเพื่อที่จะรอให้เราตกรอบไปก่อน อาจจะเป็นโอกาสให้เราเปิด range ได้กว้างขึ้นเพื่อขโมย blind หรือ bluff เพื่อขโมยชิพ ในจังหวะที่เอื้ออำนวยก็ได้เช่นกัน

โอกาสมีอยู่เสมอ ถ้าเราเปิดหูเปิดตาสังเกตความเป็นไปบนโต๊ะ นอกเหนือจากหลับตาใช้ ICM อย่างเดียว เช่นเดียวกับการ exploit เมื่อมีโอกาส แทนที่จะเล่นตาม GTO อย่างเดียวแล้วต้องสูญโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย (เพียงแต่เราต้องใช้ความระมัดระวังในการตัดสินใจอยู่บ้างเท่านั้น)

  1. ICM ไม่สามารถประเมินมูลค่าชิพในอนาคตได้

ICM เป็นการประเมินมูลค่าชิพ จากโอกาสชนะในแต่ละอันดับ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถประเมินโอกาสที่คนใดคนหนึ่ง จะได้ชิพเพิ่มขึ้น หรือลดลงจากปัจจุบัน ที่จะส่งผลต่อมูลค่าชิพในอนาคตได้ ซึ่งในทางปฏิบัติ บางทีการยอมเสี่ยงในจังหวะที่สำคัญ อาจจะเป็นจุดชี้เป็นชี้ตาย ที่ส่งผลต่อโอกาสการถึงการคว้าแชมป์ได้ เราจึงอาจเห็นผู้เล่นที่มีประสบการณ์สูงบางคน ย่อมเสี่ยงในจังหวะที่ ICM อาจจะคำนวณมาแล้วว่า ไม่คุ้มที่จะเล่น (จากการประเมินจาก EV ในปัจจุบัน) แต่เขายอมที่จะเสี่ยง เพื่อวัดดวงกับ variance ที่หากโชคเข้าข้างเขามากพอ ก็จะทำให้เขาขึ้นนำเป็นชิพลีดเดอร์ ทำให้โอกาสการคว้าแชมป์สูงขึ้น และมูลค่าชิพที่ตามมาก็เพิ่มสูงขึ้นตาม

การยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้ง เพื่อที่จะก้าวไปให้สุด มันอาจจะต้องยอมสละหลักการบางส่วนลง เพื่อแลกกับโอกาสที่จะไปได้ไกลกว่าเดิมอยู่เหมือนกัน

ICM เองก็เป็นส่วนหนึ่งของการเล่นแบบ optimal ที่สุด จึงเป็นหลักการที่เป็นรากฐานที่เราควรจะต้องเรียนรู้และศึกษาให้เชี่ยวชาญ หากอยากประสบความสำเร็จในการเล่นทัวร์นาเมนต์ อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องมองเห็นและเข้าใจข้อจำกัดของมัน ในการนำมาปรับใช้ในทางปฏิบัติ ซึ่งมีตัวแปรอีกหลายอย่างที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ซึ่งเราควรจะต้องนำมาใช้ร่วมประเมิน ปรับใช้ตามสถานการณ์ให้ยืดหยุ่น เพื่อให้การตัดสินใจของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นในโลกความเป็นจริง

====================================================================

บทสรุปจากบทที่ 13