ในเกมโป๊กเกอร์นั้น หากเราต้องการทำกำไรได้ในระยะยาว ไม่เพียงแค่เราต้องศึกษาความรู้ และฝึกฝนทักษะการเล่น เพื่อทำกำไรตอนอยู่บนโต๊ะเท่านั้น แต่เรายังต้องวางแผน เพื่อ “รักษา” กำไรจากการเล่น เมื่อต้องอยู่นอกโต๊ะอีกด้วย

จากบทที่ 2 ที่เราได้เรียนรู้ว่า โป๊กเกอร์เป็นเกมที่มีความเป็นคณิตศาสตร์สูง ซึ่งมีเรื่องของค่าสถิติระยะยาวและความผันผวนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น แม้เราจะสามารถเล่นได้ดีบนโต๊ะ และทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอก็ตาม แต่ในระยะสั้นแล้ว อาจจะมีบางช่วงที่เราโดนปัจจัยเรื่องของ “โชค” เล่นงาน ในรูปแบบของ bad beat, set up หรือ downswing ที่ทำให้เราต้องสูญเสียกำไรที่หามาได้บางส่วน และบางครั้งอาจจะเป็นจำนวนมาก หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน (อาจจะเป็นช่วงเวลาหลายวัน หลาย session หรือหลาย hand) แม้เราจะเล่นได้ดี หรือถูกต้องแค่ไหนก็ตาม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

คำถามคือ ถ้าช่วงเวลาแบบนั้นมาถึง เราจะรับมือกับมันยังไง เพื่อรักษากำไรของเราไว้ และทำให้เราไม่หมดตัวไปซะก่อน? นั่นคือที่มาของการที่เราต้องศึกษาเรื่อง bankroll management หรือการบริหารเงินทุนในการเล่นของเรานั่นเอง

Bankroll management ต้องทำยังไง?

บางคน เมื่อเสียเงินจากการเล่น ไม่ว่าจะเพราะจากโชคไม่ดี หรือเล่นไม่ดี ก็อาจคิดจะหากำไรคืน จากการเล่นให้ “ใหญ่ขึ้น” ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดมากๆ

ยกตัวอย่าง เช่น เราแบ่งเงินจากเงินเก็บมา 20,000 บาท มาซื้อชิพเพื่อเล่นโป๊กเกอร์ ที่เกมระดับ 10/20 บาท เกิดมีอยู่ช่วงหนึ่ง หลังจากเสียเงินติดๆกันไป 5 buy-in buy-in ละ 100bb หรือ 2,000 บาท รวมๆ 10,000 บาท ทำให้เราเหลือเงินเพียงครึ่งหนึ่ง คือ 10,000 บาท ทำให้เรารู้สึกหัวเสีย และอยากได้เงินคืน โดยเราคิดจะขึ้นไปเล่นเกมในระดับที่ใหญ่ขึ้น คือระดับ 20/40 บาท เพื่อหวังว่า เวลาได้กำไร จะได้กำไรคืนมากกว่าตอนที่เล่นระดับ 10/20 บาทเป็นเท่าตัว จะได้สร้างกำไรที่เสียไปกลับคืนมาได้เร็วๆ แบบนี้เป็นต้น

ที่เป็นเรื่องที่ผิดก็เพราะ ยิ่งเมื่อเราเล่นใหญ่ขึ้น แม้เราจะมีโอกาสได้กำไรเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เราก็มีโอกาสขาดทุนเพิ่มขึ้นเท่าตัวเช่นกัน ทำให้ความผันผวนจะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นการ “เพิ่มความเสี่ยง” ในการบริหารเงิน ไม่ต่างอะไรกับเวลาคนที่ “ผีผนัน” เข้าสิง ยิ่งเสีย ยิ่งอยากได้คืนจนถูกความโลภเข้าครอบงำ ที่หากเราโชคดี ก็อาจจะทำให้เราได้เงินคืนมาได้ก็จริง แต่หากเรายังโชคร้ายต่อไป ก็อาจทำให้เราสูญเสียเงินที่เราตั้งใจจะแบ่งมาเล่น (หรือที่บางคนชอบเรียกกันว่า “bankroll แตก”) ไปจนหมด และเราจะไม่มีวันทำกำไรและรักษากำไรอย่างต่อเนื่องในระยะยาวได้เลย

หลักการซึ่งเป็นหัวใจของ bankroll management จึงมีด้วยกันอยู่ 3 อย่าง คือ :

  1. เผื่อเงินทุนไว้ให้เพียงพอ 
  2. กำหนดจุดขาดทุนสูงสุดต่อ session 
  3. ลดการเล่นให้เล็กลง

  1. เผื่อเงินทุนไว้ให้เพียงพอ 

เราจำเป็นจะต้องมี bankroll ที่มีจำนวนมากเพียงพอที่จะสามารถรองรับความผันผวนหนักๆในช่วง downswing ได้ โดยที่ไม่ทำให้เงินหมดไปก่อน ซึ่งเราจะนับโดยใช้หลักเป็นจำนวน “buy-in” หรือจำนวนเงินที่เราแลกซื้อชิพเข้าไปเล่นในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นแคชเกมหรือทัวร์นาเมนต์ก็ตาม ซึ่งต้องมีเท่าไหร่ถึงจะถือว่ามี “มากเพียงพอ” นั้น อันที่จริงก็ไม่ได้มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่ตายตัว เนื่องจากขึ้นอยู่กับทักษะของเรา เทียบกับระดับของเกมที่เล่นด้วย ถ้าเราคิดว่าเราน่าจะเล่นเก่งกว่าผู้เล่นส่วนใหญ่ในเกมระดับนั้น เราก็อาจจะเตรียมจำนวน buy-in ไว้น้อยลงกว่ากรณีที่เรารู้สึกว่า เราอาจจะไม่ได้เล่นเก่งกว่าผู้เล่นส่วนใหญ่ในเกมระดับนั้นมากนักก็ได้ ซึ่ง โดยทั่วไป แนะนำว่า เราอาจจะมี bankroll สำหรับเกมแต่ละประเภท ดังนี้ :

โดยที่กำหนดให้ 1 buy-in = 100bb สำหรับแคชเกม ส่วนทัวร์นาเมนต์นั้นก็เท่ากับค่าสมัครในการแข่งเลย 

อย่างไรก็ตาม สำหรับทัวร์นาเมนต์ ซึ่งมีราคา buy-in ที่หลากหลาย ตั้งแต่ไม่กี่เหรียญ ไปจนถึงหลายร้อยหลายพันเหรียญ (สำหรับส่วนใหญ่ในออนไลน์) เราขอแนะนำว่า การวางแผนเตรียม bankroll สำหรับการเล่นทัวร์นาเมนต์นั้น ควรประเมินจาก “ราคา buy-in เฉลี่ย” ของระดับทัวร์นาเมนต์ที่เราจะเล่นเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังวางแผนจะเล่นทัวร์นาเมนต์ระดับเล็ก-กลาง ที่มี buy-in ราคา $5 – $10 โดยประมาณ ดังนั้น ราคา buy-in เฉลี่ยของเราอาจจะดูที่ประมาณครั้งละ $7.5 ทำให้เราอาจจะต้องเตรียม bankroll อยู่ประมาณ $375 – $750 เป็นต้น 

เราควรจะขยับระดับของเกมเมื่อไหร่?

เมื่อเราเล่นโป๊กเกอร์ในระดับของเกมที่เราเล่นไประยะหนึ่ง จนเราสามารถทำกำไรจากเกมระดับนั้นได้อย่างสม่ำเสมอพอสมควร เราอาจจะเริ่มคิดถึงเรื่องของการขยับระดับของเกมขึ้นไป ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเพิ่มมูลค่าของ banroll ของเราให้เติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ หากเราเล่นในระดับของเราแล้วเป็น winning player (ผู้เล่นที่สามารถทำกำไรระยะยาวได้) ได้แล้วก็จริง แต่ไม่ขยับระดับของเกม ก็จะทำให้ bankroll ของเราเติบโตช้า และเป็นสัดส่วนที่น้อยลงเมื่อเทียบกำไรที่ได้กับ bankroll ทั้งหมด เราจึงจำเป็นต้องขยับระดับของเกมเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยประเมินจากปัจจัย 2 เรื่องนี้ คือ :

เช่น เดิมเราเล่นอยู่เกมระดับ buy-in ละ 2,000 บาท โดยเราเตรียม bankroll ทั้งหมด 30 buy-in คือ 60,000 บาท เราจะสมควรขยับขึ้นไปเล่นเกมในระดับถัดไปที่ buy-in ละ 4,000 บาทได้ ก็ต่อเมื่อเรามี bankroll ทั้งหมด 30 buy-in ของเกมในระดับนั้น คือ 120,000 บาท แปลว่า เราต้องทำกำไรจากเกมระดับเดิมของเราให้ได้ “เท่าตัว” เราถึงจะสามารถขยับระดับได้อย่างเหมาะสมกับ bankroll ของเรานั่นเอง

ในบางครั้ง เราอาจจะเพิ่งเริ่มเล่นเกมในระดับนั้นๆมาได้ไม่นาน แต่อาจจะเป็นเรื่องบังเอิญที่โชคอาจจะช่วยให้เราได้กำไรมากมายจากการเล่น ในระยะเวลาอันสั้น ทำให้ bankroll เราเพิ่มสูงขึ้น จนไปแตะระดับของ bankroll ที่แนะนำในเกมระดับถัดไปได้อย่างรวดเร็ว เช่น เราเพิ่งเล่นไปเพียงแค่ 2,000 hand แต่ก็สามารถ ทำให้ bankroll เราเพิ่มเป็น 2 เท่าได้แล้ว เราเลยจะขยับไปเล่นเกมระดับถัดไปทันที แต่เรื่องที่เราควรระวัง แม้ bankroll เราจะมีเพียงพอแล้วก็ตามนั่นก็คือ “ฝีมือและประสบการณ์” ในการเล่นของเรา อาจจะยังไม่เพิ่มมากพอที่จะไปเล่นเกมในระดับที่สูงขึ้นก็เป็นได้ เพราะยิ่งระดับของเกมสูงขึ้นเท่าไหร่ ทักษะความสามารถของผู้เล่นโดยเฉลี่ยของเกมระดับนั้นก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย การจะขยับระดับของเกมเราจึงควรพัฒนา bankroll กับความรู้ความสามารถของเราไปพร้อมๆกัน เราถึงจะอยู่ในระดับถัดไปได้อย่างมั่นคง ซึงหากประเมินเรื่องประสบการณ์ในการเล่นเกมแต่ละระดับเป็นตัวเลขให้ค่อนข้างแน่ใจว่า เราเชี่ยวชาญและสามารถอยู่รอดในระดับนั้นได้ประมาณหนึ่ง เราอาจจะต้องเล่นมาแล้วไม่ต่ำกว่าประมาณ 15,000 – 30,000 hand ของเกมในระดับนั้นก่อน เราถึงจะพอมั่นใจได้ว่า เราสามารถทำกำไรระยะยาวจากเกมระดับนั้นได้แล้วจริงๆ

  1. กำหนดจุดขาดทุนสูงสุดต่อ session

เป็นการกำหนดการขาดทุนขั้นสูงสุดต่อ 1 session ที่เราเล่น เพื่อช่วยให้เรายังรักษา bankroll และสภาพอารมณ์ของเราให้มั่นคงไว้ได้อยู่ อันที่จริง หากเราเตรียม bankroll ไว้มากเพียงพอและมีแผนที่จะปรับลดระดับของเกมไว้แล้ว ถ้ามีการขาดทุนเยอะจนเกินไป ก็สามารถช่วยบริหารความเสี่ยงของเราได้มากพออยู่แล้ว แต่หากไม่มีการกำหนดจุดขาดทุนสูงสุด ไว้จนทำให้เราเสีย bankroll ไปหลาย buy-in ภายใน session ที่เราเล่นเพียง session เดียว ก็อาจทำให้เรา tilt เครียด หงุดหงิด จนส่งผลกระทบต่อการเล่นของเราได้ และเมื่อเราเล่นแย่ลง ก็มีโอกาสที่เราจะยิ่งสูงเสีย bankroll มากขึ้นไปอีก

ดังนั้น เพื่อบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ โดยไม่ให้มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง เราอาจจะใช้วิธีกำหนดจุดขาดทุนสูงสุดในแต่ละ session เอาไว้ว่า เราจะยอมให้เสียเงินได้มากที่สุดเท่าไหร่ และเมื่อถึงระดับนั้น วันนั้น หรือ session นั้น เราจะหยุดเล่นทันที แล้วเดี๋ยวค่อยกลับมาเล่นใน session หรือวันถัดไป เช่น เราอาจจะวางแผนในการเล่น วันละ 1 session session ละ 2 ชั่วโมง เราอาจจะกำหนดให้เรายอมสูญเสียกำไรได้มากที่สุดไม่เกิน 2 buy-in ต่อ session (หรือต่อวัน ในกรณีนี้) ถ้าเราเสียเงินถึง 2 buy-in เมื่อไหร่ เราจะหยุดเล่น แล้วไปทำอย่างอื่นทันที เพื่อควบคุม bankroll และอารมณ์ของเราไม่ให้เสียไปมากกว่านี้ แต่ถ้าเราเล่นแล้วยังไม่เสียถึง 2 buy-in หรือยังได้กำไรดีอยู่ เราก็เล่นต่อไปเรื่อยๆ จนจบ session นั้นในแต่ละวัน

(หมายเหตุ : หลายคนอาจจะใช้วิธีบริหารความเสี่ยงในทางตรงข้าม ด้วยการกำหนด “จุดได้กำไรสูงสุดต่อ session แทน” เช่น เมื่อได้กำไรถึงวันละ xx บาท จะหยุดเล่นทันที เพื่อเป็นการปกป้องกำไรที่หามาได้ ไม่ให้เสียไปถ้าเกิดเล่นต่อแล้วโชคร้าย ก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่เราอาจจะไม่แนะนำวิธีนี้เท่าไหร่ เหตุผลก็เพราะ ในทางปฏิบัติแล้ว เราไม่สามารถกำหนดกำไรที่เราจะได้ ว่าเราอยากได้กำไรต่อ session หรือต่อวันเท่าไหร่ บางวันเราอาจจะได้กำไรน้อย หรือมากกว่าระดับที่ตั้งไว้ก็ได้ แต่หากเราไปกำหนด “เพดานกำไร” ก็แปลว่า เราจะไม่มีวันได้กำไรสูงๆ (เพราะเราจะได้กำไรแค่ไม่เกินระดับเพดาน) กว่าระดับที่ตั้งไว้เลย แต่เมื่อไหร่ที่เราขาดทุน เราจะขาดทุนได้ไม่จำกัด เพราะเราไม่ได้กำหนดจุดขาดทุนไว้ มันเลยเป็นวิธีที่ “ได้จำกัด แต่เสียไม่จำกัด” ซึ่งน่าจะส่งผลเสียต่อกำไรระยะยาวของเรามากกว่า)   

  1. ลดการเล่นให้เล็กลง

จากที่เรารู้แล้วว่า หากเราสูญเสียเงินเก็บไป ต้องไม่ทวงกำไรคืนด้วยการเล่นเกมที่ใหญขึ้น ดังนั้น คำแนะนำในทางตรงกันข้าม เพื่อลดความเสี่ยง และค่อยๆปั้น bankroll คืนกลับมา คือต้องลดระดับการเล่นให้เล็กลงแทน โดยเราอาจจะกำหนดเป็นจำนวน buy-in ที่เราสูญเสียไปว่า “ถ้าเราสูญเสียกำไรจนน้อยกว่าจำนวน bankroll ที่ควรมีในระดับนั้น ไปเท่ากับจำนวน buy-in ที่กำหนด เราจะลดระดับการเล่นลงมา 1 ระดับ”

ตัวอย่างเช่น เราเล่นเกมที่ระดับ buy-in 2,000 บาท เรากำหนดให้มี bankroll ขั้นต่ำอยู่ 30 buy-in คือ 60,000 บาท เพื่อบริหารความเสี่ยงไม่ให้ bankroll หมด เราจึงกำหนดว่า ถ้าเราเสียถึง 5 buy-in จาก bankroll ขั้นต่ำ 60,000 บาทนี้ไป 5 buy-in หรือคือ 10,000 บาท จน bankroll ของเราเหลือน้อยกว่า 50,000 บาท เราจะลดระดับการเล่นลงมา 1 ระดับ อยู่ที่ระดับ buy-in 1,000 บาทแทน และเมื่อเราสามารถปั้น bankroll กลับมาแตะที่ 60,000 บาทเหมือนเดิมได้เมื่อไหร่ เราถึงค่อยกลับมาเล่นเกมระดับ buy-in 2,000 บาทเหมือนเดิม ในทางตรงกันข้าม เกมระดับ buy-in 1,000 บาท ที่เราควรมี bankroll ขั้นต่ำ 30 buy-in หรือ 30,000 บาท ถ้าเราลดระดับลงมาเล่นระดับนี้ แล้ว bankroll เรายิ่งลดลงไปอีกจาก 50,000 จนเหลือน้อยกว่า 30,000 ไป 5 buy-in หรือ 5,000 บาท คือเหลือน้อยกว่า 25,000 บาท เราก็จะยิ่งต้องลดระดับการเล่นลงไปอีก 1 ระดับไปอยู่ที่ระดับ buy-in 500 บาท ที่ต้องมี bankroll ขั้นต่ำ 15,000 บาท แบบนี้ไปเรื่อยๆ จะเป็นการบริหารที่ bankroll เราจะไม่มีวันหมดอย่างแน่นอน เพราะทุกครั้งแต่ bankroll เราลดลงมากเกินไป เราจะลดระดับการเล่นลงตามทุกครั้งนั่นเอง

จากหลักการทั้ง 3 ข้อ เราอาจจะขออนุญาตสรุปเป็นขอแนะนำแบบง่ายๆ ไว้ให้สำหรับนักเล่นหน้าใหม่ทุกคนเลย ดังนี้

  1. สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่วงการโป๊กเกอร์ แม้เราจะมีเงินมากแค่ไหน ขอแนะนำให้เริ่มเล่นจากเกมระดับต่ำที่สุดเสมอ แล้วค่อยๆยกระดับการเล่นของตัวเองขึ้นมาทีละระดับ (ไม่ควรเริ่มจากเกมระดับสูงๆ แพงๆเลย แม้เราจะมีเงินพอเล่นก็ตาม)
  1. หากเล่นแคชเกม แนะนำให้เล่น buy-in ครั้งละ 100bb แบบ maximum buy-in ทุกครั้ง ให้เป็น deep stack เสมอ 
  1. กำหนด bankroll ขั้นต่ำของเกมแต่ละระดับที่ 30 buy-in สำหรับแคชเกม และ 100 buy-in สำหรับทัวร์นาเมนต์
  1. กำหนดการขาดทุนขั้นสูงสุดของแต่ละ session ที่ 2 buy-in ต่อ session
  1. หาก bankroll เพิ่มสูงขึ้นจนแตะระดับ 30 หรือ 100 buy-in ของเกมระดับถัดไป + คิดว่ามีฝีมือและประสบการณ์ในเกมระดับเดิมมาไม่น้อยกว่า 15,000 hand อาจจะสามารถขยับการเล่นไประดับถัดไปได้
  1. หาก bankroll ลดต่ำลงจากขั้นต่ำ 30 หรือ 100 buy-in ของเกมระดับนั้นลงมามากกว่า 5 buy-in ให้ลดระดับการเล่นลงมา 1 ขั้น  

สำหรับการเล่นแคชเกม เราอาจสรุปหลักการดังกล่าว มาเป็นภาพได้ ตามที่ pokerschoolonline แนะนำไว้ ดังภาพนี้

โดยที่แต่ละคอลัมน์ในตารางมีความหมายดังนี้ :

แม้ bankroll management อาจจะไม่่ใช่หลักการที่จะช่วยให้เราเล่นเก่งขึ้น หรือได้กำไรมากขึ้น แต่มันคือหลักการที่จะช่วยบริหารความเสี่ยงเพื่อ “รักษากำไร” ไม่ให้เราต้องสูญเสียกำไรไปจนหมดตัว ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการเล่นโป๊กเกอร์เพือสะสมกำไรในระยาวให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น เราจึงต้องมีการวางแผนการเล่นที่ดี และรัดกุม ทั้งบนโต๊ะ และนอกโต๊ะ ไปพร้อมๆกัน

====================================================================

บทสรุปจากบทที่ 5