การเป็นนักโป๊กเกอร์ที่ดีนั้นเราจะต้องหมั่นสังเกตสถานการณ์รอบตัว และคอยเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อกลยุทธ์การเล่นของเราอยู่ตลอดเวลา  เมื่อเราเริ่มลงนั่งในโต๊ะโป๊กเกอร์  สิ่งแรกที่สำคัญคือการสังเกตผู้เล่นทุกคนบนโต๊ะว่ามีสไตล์การเล่นแบบไหนเพื่อที่เราจะสามารถวางแผนกลยุทธ์การเล่นของเราให้เหมาะสมเมื่อเจอกับคู่ต่อสู้แต่ละคนได้  

แล้วเราจะแยกแยะคู่ต่อสู้ด้วยหลักเกณฑ์อะไรล่ะ? สิ่งที่แนะนำคือให้ตั้งคำถามง่ายๆกับตัวเอง 2 ข้อ:    

Type of Player

ตอนนี้ก็ได้เวลาที่เราจะมาทำความรู้จักกับผู้เล่นทั้ง 8 และเทคนิคในการรับมือกับแต่ละประเภทกันแล้ว  ลองมาดูกันว่าเราอยากจะเจอกับคู่ต่อสู้แบบไหนอยู่บนโต๊ะ 

1. Rock
Rock เป็นผู้เล่นที่สุดขั้วของความ Tight  เราจะสังเกตเห็นพวก Rock ได้ง่ายเพราะพวกเค้าจะเล่นไพ่น้อยมากกกก (ย้ำอีกครั้งว่าน้อยมากจริงๆ)  พวกนี้จะนั่งนิ่งๆอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆโดยไม่ทำอะไรเลย (นิ่งเป็นก้อนหินสมกับฉายาของพวกเค้า)  และพวกเค้าไม่ได้รอแค่ไพ่ดีๆนะ แต่พวกเค้าจะรอไพ่ที่ดีที่สุดเลยล่ะ!  ถ้าเริ่มมีการเคลื่อนไหวจากพวก rock เราค่อนข้างมั่นใจได้เลยว่าพวกเค้าต้องมีไพ่อะไรที่ดีมากๆแน่นอน


เทคนิคการเล่นกับพวก Rock:

2. Nit
Nit ก็ยังเป็นผู้เล่นที่ Tight มากแต่มีความสุดขั้วน้อยลงกว่าพวก Rock  พวก Nit จะพยายามเล่น poker ที่ดี เพียงแต่อาจยังไม่ค่อยเข้าใจความหมายของการเล่น Tight Play ได้ดีพอ พวกนี้ก็ยัง Fold  มากเกินไปและแทบจะไม่ Bluff ยกเว้นการ C-bet เท่านั้น  ถ้า Nit เริ่ม Raise และตามด้วย C-bet ที่ Flop และยังคง Bet ต่ออีกที่ Turn ก็รับประกันได้เลยว่าเค้าน่าจะถือไพ่ที่ดีที่สุดอยู่ในมือ

3. Weak Tight Player
ผู้เล่นประเภทนี้ค่อนข้าง Tight แต่ไม่ถึงกับสุดโต่งอย่างพวก Nit กับ Rock ปัญหาหลักของพวก Weak Tight Player คือพวกเค้าไม่รู้วิธีรับมือกับความ Aggressive และมักกลัวเกินไปจนไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง  เราจะไม่สามารถเห็น Weak Tight Player ได้ในทันที แต่หลังจากจำนวน Hand ที่มากพอ เราจะเริ่มสังเกตุเห็นคนที่ Fold บ่อยเกินไปเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความ Aggressive

พยายามขโมย Blind และ C-bet และเลือกจังหวะในการ Aggressive เพื่อกดดันคู่ต่อสู้ประเภทนี้  Weak Tight Player ไม่ได้เป็นผู้เล่นที่แย่ที่สุด แต่เราสามารถทำกำไรให้กับไพ่ของเราได้ด้วยการใช้ความ Aggressive อย่างเหมาะสม

4. Tight Aggressive Player (TAG)
TAG เป็นผู้เล่นที่อยู่ในเกณฑ์ Tight ระดับปานกลาง เรียกว่าไม่ได้มากหรือน้อยจนเกินไป และจุดเด่นอีกอย่างคือ TAG มีทักษะและความสามารถในการใช้ความ Aggressive ได้อย่างเหมาะสมและดีมากกว่ากลุ่ม Tight Player 3 ประเภทที่เราได้กล่าวถึงไปแล้ว  นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ TAG เป็นหนึ่งในประเภทของคู่ต่อสู้ที่เราอาจรับมือได้ยากกว่ามาก  เราสามารถที่จะเล่นอย่าง Aggressive และสามารถขโมย Blind จาก TAG ได้ แต่จะต้องเลือกจังหวะอย่างระมัดระวัง

ถึงแม้ว่า TAG ไม่ใช่เป้าหมายหลักของเรา  แต่การเล่นกับ TAG ก็นับว่าเป็นการฝึกฝนที่ดีสำหรับเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ TAG ที่อ่อนกว่าในเกมเล็กๆ  นี่เป็นวิธีการที่ดีในการค้นหาจุดอ่อนในเกมของเราและอุดรอยรั่วทั้งหมดก่อนที่จะขยับขึ้นไปสู่เกมที่ใหญ่ขึ้นที่เราจะต้องเจอกับ TAG มากขึ้นบนโต๊ะ  แต่สรุปโดยรวมแล้ว พวก TAG จะไม่ใช่เป้าหมายหลักในการทำเงินของเรา

เราได้พูดถึงประเภทของ Tight Player กันไปหมดแล้ว ตอนนี้เราจะไปเริ่มทำความรู้จักกับคู่ต่อสู้ที่เล่นอย่าง Loose มากขึ้น

5. Maniac
Maniac เป็นพวกที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับสิ่งที่เราได้พูดถึงมาทั้งหมดในตอนนี้  Maniac จะเป็นพวกที่บ้า ระห่ำ และ ไม่มีรูปแบบ  Maniac จะเล่นอย่าง Loose และ Aggressive มากกกกกก  และไม่ได้มองโป๊กเกอร์เป็นเกมกลยุทธ์  แต่เหมือนเป็นเกมวัดดวงซะมากกว่า

Maniac จะถูกหลอกล่อให้ Bluff ได้ง่าย  แต่ก็เป็นสิ่งที่พวกเขาถนัดอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะปล่อยให้เค้าทำไป  เมื่อต้องปะทะกับพวก Maniac เราควรจะ:  

เล่น Tight รอจังหวะ คัดไพ่ที่ดีพอไปสู้กับพวก Maniac

พยายามหลอกล่อให้ Bluff เมื่อเรามีไพ่ดี

อดทน อดกลั้น และไม่เป็นฝ่าย Bluff ใส่ Maniac

6. Loose Aggressive (LAG)
LAG จะเล่นหลายๆ Hand และเล่นอย่างดุดันและใช้ความ Aggressive กดดันคู่ต่อสู้  พวกนี้อาจดูคล้าย Maniac แต่สามารถควบคุมตัวเองได้ดีกว่ามาก  LAG เคยเป็นสไตล์การเล่นที่ทำกำไรได้ดีในเกมใหญ่ๆอยู่ระยะนึง  แต่ในระยะหลังก็เปลี่ยนไปเป็นสไตล์ TAG   แต่เรามักไม่เจอ LAG อยู่ในเกมเล็กๆ แต่จะมีพวก Maniac (หรือใกล้เคียง Maniac) และผู้เล่นอีกมากมายที่พยายามเลียนแบบ LAG โดยที่ไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่   LAG ที่ดีจะทำกำไรช่วง Postflop โดยอาศัยจังหวะการตัดสินใจที่ถูกต้องและแม่นยำในช่วงสถานการณ์ล่อแหลมเพื่อทำกำไรให้ได้มากที่สุด  LAG มักเลือกเล่น Loose Starting Hand จึงทำให้พวกเค้ามักตกอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมเหล่านี้ทั้งช่วง Preflop และ Postflop  คู่ต่อสู้มักประเมิน LAG ต่ำไปโดยคิดว่าเป็นพวก Maniac  แต่จริงๆแล้ว LAG รู้ดีว่ากำลังทำอะไรอยู่ด้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่

ถ้าเรารู้สึกว่ากำลังเจอคู่ต่อสู้คนไหนที่เข้าข่ายในการเป็น LAG  เราก็สามารถปรับเกมของเราโดยการเลือกเล่น hand ที่ tight มากขึ้น  หลอกล่อให้ bluff และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าในสถานการณ์ล่อแหลม

การรับมือกับพวก LAG ก็จะคล้ายกับการรับมือพวก Maniac คือต้องปรับเกมด้วยการเล่น Tight มากขึ้น  หลอกล่อให้ Bluff และต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้นโดยหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าในสถานการณ์ล่อแหลม

7. Calling Station
คือผู้เล่นที่ไม่ชอบหมอบ Calling Station รู้จักที่จะ Call เท่านั้น  โดยแทบไม่ต้องมีเหตุผลในการ Call  ถ้าเรา Raise Preflop และถูก Call พวกนี้ก็จะ Call เราอีกเมื่อเรา C-bet ที่ Flop  ถึงแม้ว่าพวกเค้าอาจจะถือ 96 และกำลังมองไปที่ 3 8 J บน Flop

อย่าไปเสียเวลาที่จะพยายามทำความเข้าใจระบบของพวก Calling Station แต่สิ่งที่เราจะต้องทำคือ: 

ห้าม Bluff Calling Station และอย่าพยายาม Bluff มากเกินไปด้วย Semi-bluff

ไม่ต้องพยายามหลอกล่อให้ Bluff เพราะ Calling Station จะ Bluff น้อยมาก

Value bet มากขึ้น หมายความว่าเราอาจสามารถ Bet ด้วยให้กลางๆได้มากขึ้น เพราะ พวก Calling Station ก็จะพยายามหาเหตุผลมา Call ด้วย Hand ที่แย่กว่า

เล่นไพ่ Draw อย่าง Passive  เพราะ Calling Station มักเปิดโอกาสให้เราดูไพ่ฟรี

จำไว้ว่า ถ้า Calling Station เริ่มแสดงการ Aggressive แสดงว่าเค้าอาจจะถือ Monster (ไพ่ที่ดีมากๆ)

8. Donkey
Donkey เป็นคำที่ใช้เรียกผู้เล่นแย่ๆ ประเภทที่ทำอะไรแบบไม่มีเหตุผลเอาซะเลย Donkey ทั่วไปในเกมเล็กๆชอบที่จะดู Flop และไม่เข้าใจว่าทำไมเราจะต้อง Raise Preflop กันด้วย  ในเมื่อเราก็ไม่รู้ซะหน่อยว่าไพ่อะไรจะเปิดออกมา  พวกนี้จะชอบ bluff ด้วยความคิดที่ว่า “เค้าต้องไม่มีอะไรแน่ๆ” และก็ยังยินดีที่จะ call ด้วยไพ่ที่แย่กว่าด้วยเช่นกัน  Donkey ชอบเล่นไพ่ Draw อย่าง Passive และจะ Bluff เมื่อไม่ติดไพ่ Draw ที่ River  พวกนี้จะ Bet และ Raise โดยไม่มีเหตุผล  จะ Bluff ทั้งๆที่น่าจะรู้อยู่แล้วว่าแพ้ และจะ Call โดยไม่มี Back up อะไรทั้งสิ้น  Donkey ถือเป็นผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมสำหรับ Bankroll ของเราเลยล่ะ 

Donkey มักจะ Loose และ Passive มากเกินไป  พวกเค้ามักจะ Slowplay เมื่อถือไพ่ดีๆ  และพร้อมจะ Bet เสมอถ้ารู้สึกอยากจะ Bluff  พวกนี้มักจะเป็นทุกข์กับความผันผวนทางอารมณ์อย่างสูง และมีโอกาสที่จะเปลี่ยนสู่โหมด Maniac (ขึ้นอยู่กับว่ากำลังชนะหรือแพ้)  นี่คือสิ่งที่เราจะต้องคอยสังเกตุให้ดี เพราะเหล่า Donkey มักจะเปลี่ยนสไตล์การเล่นหลายๆครั้งในเกม 

ถ้าเจอ Donkey อยู่บนโต๊ะ ให้เราเล่นแค่ ABC Poker (เล่นอย่างเรียบง่าย มีไพ่ดีก็ Value Bet  ถ้าไม่มีไพ่ดีก็หมอบ) และคอยสังเกตพฤติกรรมว่าพวก Donkey เล่น Monster Hand ยังไง? ยอม Fold ตอนไหน? เพราะ Donkey แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน  แต่ยังไงเราก็จะสังเกตเห็นพวกนี้ได้ง่าย  และมีโอกาสให้เราได้ตอบโต้อย่างมากมาย   

และทั้งหมดนี้คือประเภทของผู้เล่นทั้งหมดที่เราจะเจอบนโต๊ะโป๊กเกอร์  เราอาจไม่จำเป็นต้องแยกให้ได้ทั้ง 8 ประเภท   แต่ในการเริ่มต้นเราควรแยกแยะกลุ่มผู้เล่นหลักๆให้ได้ก่อนว่าใครเป็นพวก Weak Tight Player และใครเป็น TAG หรือ LAG  และที่สำคัญที่สุดคือพยายามหาผู้เล่นที่เป็นเป้าหมายบนโต๊ะให้เจอ

สำหรับมือใหม่บางครั้งอาจเป็นการยากที่จะบอกได้ว่าใครเป็นผู้เล่นประเภทไหน  สิ่งที่แนะนำคือให้ตั้งคำถามง่ายๆที่ดูจากจำนวนการเล่นและระดับความ Aggressive  และนอกจากนั้นเรายังสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก HUD อีกด้วย!     

HUDs Reading


HUD หรือ Heads-Up Display เป็นจอแสดงผลสถิติการเล่นของผู้เล่นแต่ละคน  ซึ่งแต่ละ poker app ก็จะมีข้อมูล HUD พื้นฐานที่แสดงให้ไม่เหมือนกัน  บางที่มีมากและบางที่ก็มีน้อย (หรืออาจต้องเสียเงินซื้อแพคเกจเพิ่มถ้าต้องการดูสถิติมากขึ้น)   แต่ในบทเรียนเบื้องต้นนี้เราจะมาแนะนำ 2 ตัวเลขสถิติหลักที่จำเป็นอย่างยิ่งและมักจะมีให้ในแอพส่วนใหญ่      

VPIP – Voluntarily Put Money in Pot % 

หมายถึงสัดส่วนของแฮนด์ที่เราได้ใส่เงินลงไปเองในพอร์ต (หมายความว่าการถูกบังคับลง blind จะไม่ถูกรวมในสถิตินี้) 

PFR – Pre-flop Raise  

หมายถึงสัดส่วนของแฮนด์ที่เราเป็นคน Raise ในช่วง Preflop 

VPIP/PFR

การดูความสัมพันธ์ระหว่างระหว่าง VPIP และ PFR จะแสดงให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้เล่นมี % การเล่นสูงแค่ไหน (VPIP) และมีความ Aggressive มากแค่ไหน (PFR)  

เห็นหรือยังล่ะว่าเพียงแค่เราเข้าใจการอ่าน  2 ตัวเลขสถิติที่สำคัญนี้  มันก็ช่วยให้เราสามารถแยกแยะประเภทของผู้เล่นได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องเสียเวลานั่งรอเก็บข้อมูลและสังเกตการณ์เองเลยด้วยซ้ำ HUD มีประโยชน์มากสำหรับผู้เล่น online poker ที่เล่นพร้อมกันหลายๆโต๊ะ  เพราะเราคงไม่สามารถโฟกัสและเฝ้าสังเกตุคู่ต่อสู้พร้อมกันได้หลายๆโต๊ะในเวลาเดียวกัน

แต่ข้อควรระวังในการใช้ HUD คือเราจะต้องดู No. of Hands (จำนวนของแฮนด์ที่ได้เก็บสถิติมา) เพื่อดูว่าเราสามารถเชื่อถือสถิตินั้นได้มากแค่ไหน  ยิ่งเป็นสถิติที่เก็บมานานจากจำนวนแฮนด์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งน่าเชื่อถือมากขึ้นเท่านั้น  เพราะเราคงไม่สามารถเชื่อถืออะไรได้จากสถิติที่เพิ่งเริ่มเก็บและมีจำนวนแฮนด์ไม่ถึง 10 แฮนด์เป็นต้น  ข้อแนะนำคือควรเป็นสถิติจากอย่างน้อย  50 แฮนด์ขึ้นไปถึงจะเริ่มนำมาใช้ได้

♠️❤️♣️♦️♠️❤️♣️♦️♠️❤️♣️♦️♠️❤️♣️♦️♠️❤️♣️♦️♠️❤️♣️♦️

บทสรุปจากบทที่ 12